การศึกษาสำหรับผู้ถูกกดขี่ ฉบับครบรอบ 50 ปี
(Pedagogy of the Oppressed : 50th Anniversary Edition)
เขียน: เปาโล เฟรรี (Paulo Freire)
แปล: สายพิณ กุลกนกวรรณ ฮัมดานี
ISBN : 978-616-481-040-2
จำนวนหน้า 296
ราคาปก 350 บาท
” การปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่เป็นการปลดปล่อยชายและหญิง หาใช่วัตถุสิ่งของไม่
ดังนั้น ขณะที่ไม่มีผู้ใดปลดแอกตนเองได้ด้วยความพยายามโดยลำพัง ก็ไม่มีผู้ใดปลดแอกเขาได้เช่นกัน
เสรีภาพอันเป็นปรากฏการณ์ของมนุษย์ไม่อาจบรรลุได้โดยผู้ที่เป็กึ่งมนุษย์
ความพยายามใดที่ปฏิบัติต่อผู้คนประหนึ่งเขาเป็นกึ่งมนุษย์ (ดังเช่นกรณีเชิดชูคนขาวและระบอบพ่อปกครองลูก)
มีแต่จะทำให้เขาสูญเสียความเป็นมนุษย์ “
เฟรรีได้ยืนยันกับเราอย่างหนักแน่นว่า การปฏิบัติด้านการศึกษาเป็นความท้าทาย เป็นความสุข เป็นรางวัลอันมีค่าสำหรับครู “เราอาจสร้างสรรค์ทำให้โรงเรียนมีความสุขสนุกสนานได้ เราสร้างสรรค์การผจญภัยในโรงเรียน และโรงเรียนต้องก้าวไปตลอดเวลา ไม่กลัวที่จะต้องเสี่ยงภัย ปฏิเสธความเฉื่อยเนือย เป็นโรงเรียนที่คิด มีส่วนร่วม สร้างสรรค์ มีความรัก มีการพูดคุย อ้าแขนรับชีวิตด้วยอารมณ์แรงกล้าและความรู้สึกที่เข้มขึ้น ไม่ใช่เป็นโรงเรียนที่เงียบเหงาและลาจากกันไป”
เปาโล เฟรรี (Paulo Freire, 1921-1997)
นักปราชญ์ด้านการศึกษาชาวบราซิล เป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะนักการศึกษานอกระบบ เขาเน้นการสอนและการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับการโต้แย้งแสดงความคิดเห็น และคำนึงถึงผู้ที่ถูกกดขี่บีบคั้นเพราะขาดโอกาสและถูกเอารัดเอาเปรียบ พูดได้ว่า เปาโล เฟรรีเป็นนักคิดด้านหารศึกษาที่มีอิทธิพลมากที่สุดในช่วงปลายศตวรรษที่ยี่สิบ
เปาโล เฟรรี เกิดและเติบโตในครอบครัวชนนชั้นกลางของประเทศบราซิล ในวัยเด็กเขาต้องเผชิญกับความอดยากยากแค้นในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก เมื่อจบการศึกษาระดับมัธยม เขาเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโดยหวังจะได้รับปริญญาทางด้านนิติศาสตร์ แต่พอถึงปี 1944 เมื่อเขาแต่งงานกับเอลซา โอลิเวียรา ซึ่งเป็นครูสอนนักเรียนระดับประถมศึกษา เธอได้จุดประกายทำให้เฟรรีหันเหจากสาขากฎหมายมาให้ความสนใจด้านการศึกษา
ยิ่งเฟรรีศึกษาวิจัยด้านการศึกษาลึงลงเท่าใด เขายิ่งได้พบการงานอย่างใหม่ในชีวิตมากขึ้น ในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาและวัฒนธรรมของรัฐบาลท้องถิ่น เขาทำงานร่วมกับกรรมกรโรงงานอยู่ถึง 10 ปี และค่อยๆ มีบทบาทในระดับนโยลบายมากขึ้น ในช่วงนี้เองที่เขาเริ่มแสดงให้เห็นอย่างประจักษ์ว่าการเสวนาโต้แย้งทางความคิดเห็นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษา ไม่ว่าการเสวนาระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง ระหว่างครูกับนักเรียนระหว่างครูกับสมาชิกชุมชน เหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของการศึกษา ระหว่างที่กำลังศึกษาระดับปริญญาเอกเขาได้ร่วมเคลื่อนไหวเรียกร้องการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน ประสบการณ์ในช่วงนี้เป็นรากฐานสำคัญให้แก่หนังสือเล่มแรกของเขาคือ การศึกษาในฐานะการปฏิบัติเพื่อเสรีภาพ (Education as the Practice of Freedom) หนังสือเล่มนี้เขียนเสร็จเมื่อปี 1965 ซึ่งเป็นช่วงที่เขาลี้ภัยอยู่ที่ชิลี
ประธานาธิบดีแห่งบราซิลได้ข้อให้เฟรรีออกแบบโครงการการศึกษาแห่งชาติ งานนี้เป็นงานที่ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง เพราะในบราซิล ผู้ที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งคือคนที่อ่านออกเขียนได้เท่านั้น บรรดาเจาที่ดินและผู้มั่งคั่งอันเป็ฯชนชั้นนำระดับประเทศต่างมองว่าโครงการรณรงค์เพื่อการเรียนรู้ที่เฟรรีกำลังดำเนินการอยู่ เป็นภัยคุกคามอภิสิทธิ์นานาประการที่พวกเขาได้รับอยู่ เมื่อเกิดรัฐประหารในปี 1964 และรัฐบาลทหารเข้ายึดอำนาจ เฟรรีจึงถูกจับขัง 2 ครั้ง และสุดท้ายทหารก็บีบบังคับให้เขาลี้ภัยการเมืองออกนอกประเทศ
ในช่วง 16 ปืที่ลี้ภัยอยู่ในชิลีระหว่างปี 1964-1969 เขาพักอยู่ที่นครซานติเอโก และทำงานร่วมกับชาวนา ระหว่างปี 1969-1970 เขาเดินทางไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และมีโอกาสเดินทางไปประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาในฐานะ “ทูต” การศึกษาแก่ผู้ใหญ่ เพื่อการเรียนรู้แล้ะการปลดปล่อย และช่วงนี้เองที่เขาได้เขียนหนังสือที่ทำให้เขาโด่งดังไปทั่วโลก นั่นคือ การศึกษาสำหรับผู้ถูกกดขี่ (Pedagogy of the Oppressed)