ฝันร้ายในร่างกาย: สมอง ร่างกาย จิตใจ ในการเยียวยาบาดแผลทางใจ
(The Body Keeps the Score: Brain, Mind, and Body in the Healing of Trauma)
เบสเซล แวน เดอ คอล์ค (Bessel Van Der Kolk, M.D.) เขียน
ภัทร กิตติมานนท์ แปล
กรรณิการ์ พรมเสาร์ บรรณาธิการ
ISBN 978-616-481-010-5
ราคาปก 620 บาท
จำนวนหน้า 580
หนังสือที่เปี่ยมไปด้วยมนุษยธรรมเล่มนี้มอบความเข้าใจใหม่อันกว้างขวาง ถึงสาเหตุและผลที่ตามมาของบาดแผลทางใจ มอบความหวังและความชัดเจนให้กับทุกคนที่เคยสัมผัสการทำลายล้างของบาดแผลทางใจ บาดแผลทางใจปรากฏเป็นหนึ่งในความท้าทายทางสาธารณสุขที่ใหญ่หลวงที่สุดในยุคของเรา ไม่ใช่เพียงเพราะผลลัพธ์ที่เป็นที่รู้กันดีแล้วของมันต่อทหารผ่านศึกและเหยื่อจากอาชญากรรมและอุบัติเหตุเท่านั้น แต่เพราะการสูญเสียที่แฝงเร้นของความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศ ตลอดจนความเสียหายอย่างหนักของชุมชนและโรงเรียนจากการล่วงละเมิด การทอดทิ้ง และการเสพติด
ฝันร้ายในร่างกาย คือเรื่องราวอันน่าประทับใจของกลุ่มนักบำบัดและนักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งผู้ป่วยที่กล้าหาญ พวกเขาได้ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อจะผสมผสานความก้าวหน้าล่าสุดของวิทยาศาสตร์ทางสมอง งานวิจัยว่าด้วยความผูกพัน และความตระหนักรู้ในร่างกาย เข้ากับวิธีการรักษาที่จะปลดปล่อยผู้รอดชีวิตจากบาดแผลทางใจให้เป็นอิสระจากแอกของอดีต หนทางใหม่สู่การฟื้นตัวเหล่านี้กระตุ้นความยืดหยุ่นตามธรรมชาติของสมองให้เชื่อมวงจรการทำงานที่ถูกรบกวนขึ้นมาใหม่ และค่อยๆ สร้างความสามารถที่จะ “รู้ สิ่งที่คุณรู้ และรู้สึก สิ่งที่คุณรู้สึก” ขึ้นมาทีละขั้นทีละตอน หนทางใหม่เหล่านี้ยังมอบประสบการณ์ซึ่งขัดแย้งโดยตรงกับความอับจนหนทางและความไร้ตัวตน ซึ่งเชื่อมโยงกับบาดแผลทางใจ ช่วยให้ทั้งผู้ใหญ่และเด็กกอบกู้ความเป็นเจ้าของร่างกายและชีวิตคืนมา
เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบ ผู้อ่านจะรู้สึกเกรงขามในความสามารถฟื้นตัวของมนุษย์ และในพลังของความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นความใกล้ชิดในบ้านหรือในชุมชนที่กว้างออกไป ที่สามารถสร้างทั้งความเจ็บปวด และให้การเยียวยาได้
” ….ผู้เขียนได้รวบรวมความรู้และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไว้อย่างเป็นระบบและน่าติดตาม โดยใช้การเล่าเรื่องของผู้ป่วยควบคู่กันไป การลำดับเรื่องเริ่มจากการค้นพบภาวะนี้ ความเชื่อมโยงของจิตใจกับการทำงานของสมอง ภาวะจิตใจที่เกิดขึ้น และการเยียวยา ผู้อ่านจะมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในความสัมพันธ์ระหว่างกายและจิต ผ่านการอธิบายกลไกของโรคนี้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ รู้จิตและเข้าใจตัวเราเองมากขึ้นนั่นเอง…”
บางส่วนจากคำนิยม โดย นพ. ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์
ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี
อดีตนายกสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
สารบัญ
บทเกริ่น: เผชิญบาดแผลทางใจ
ภาค 1 การค้นพบเหตุการณ์สะเทือนขวัญอีกครั้ง
1. บทเรียนจากทหารผ่านศึกเวียดนาม
2. ปฏิวัติความเข้าใจจิตและสมอง
3. สำรวจสมอง: การปฏิวัติด้านประสาทวิทยาศาสตร์
ภาค 2 นี่คือสมองของเราเมื่อเกิดบาดแผลทางใจ
4. หนีเอาชีวิตรอด: กายวิภาคของการอยู่รอด
5. ความเชื่อมโยงระหว่างสมองและกาย
6. สูญเสียร่างกาย สูญเสียตัวตน
ภาค 3 จิตใจของเด็ก
7. ที่ความยาวคลื่นเดียวกัน: ความผูกพันและความสอดคล้อง
8. ติดอยู่ในความสัมพันธ์: ค่าเสียหายของการล่วงละเมิดและทอดทิ้ง
9. แล้วความรักเกี่ยวอะไรกับเรื่องนี้
10. บาดแผลทางใจในช่วงวัยพัฒนาการ: โรคระบาดที่แฝงเร้น
ภาค 4 ความฝังใจในเหตุการณ์สะเทือนฝัน
11. เผยความลับ: ปัญหาของความทรงจำเหตุการณ์สะเทือนขวัญ
12. ความหนักอึ้งเหลือทนของการจดจำ
ภาค 5 หนทางสู่การฟื้นตัว
13. เยียวยาบาดแผลทางใจ: เป็นเจ้าของตัวของคุณเอง
14. ภาษา: ปาฏิหาริย์และทรราช
15. EMDR: ปล่อยวางอดีต
16. โยคะ: เรียนรู้การอยู่ในร่างกาย
17. ปะติดปะต่อชีวิต: ความเป็นผู้นำตัวเอง
18. เติมเต็มช่องว่าง: ก่อโครงสร้าง
19. เชื่อมวงจรสมองใหม่: นิวโรฟีดแบค
20. ค้นหาเสียงตัวเอง: กิจกรรมเข้าจังหวะและการละคร
บทส่งท้าย: ทางเลือกที่ต้องตัดสินใจ
ภาคผนวก: ฉันทามติข้อเสนอเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติจากบาดแผลทางใจในช่วงวัยพัฒนาการ
เกี่ยวกับผู้เขียน
นายแพทย์ เบสเซล แวน เดอ คอล์ก (BESSEL VAN DER KOLK, M.D.)
ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ของศูนย์บาดแผลทางใจ เมืองบรูคไลน์ รัฐแมสซาชูเซตต์ ศาสตราจารย์ภาควิชาจิตเวช โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยบอสตัน และผู้อำนวยการเครือข่ายรักษาบาดแผลทางใจแบบซับซ้อนแห่งชาติ ในช่วงที่ไม่ได้ไปสอนทั่วโลก น.พ. แวน เดอ คอล์กทำงานและอาศัยอยู่ที่เมืองบอสตัน
เบสเซล แวน เดอ คอล์ก ใช้ประสบการณ์มากกว่า 30 ปี ในการทำงานอยู่แถวหน้าของงานวิจัยและการรักษาผู้ป่วย ชี้ให้เราเห็นว่าความหวาดผวาและความโดดเดี่ยวซึ่งเป็นแก่นแท้ของบาดแผลทางใจ ได้เปลี่ยนโฉมของสมองและร่างกายของเราไปจริงๆ ความรู้ความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับสัญชาตญาณการเอาชีวิตรอด อธิบายได้ว่าทำไมผู้ที่มีบาดแผลทางใจจึงเต็มไปด้วยความวิตกกังวล ด้านชา และอารมณ์เดือดดาลรุนแรงที่ไม่สามารถเข้าใจได้ และบาดแผลทางใจมีผลกระทบอย่างไรต่อความสามารถในการมีสมาธิจดจ่อ การจดจำ การสร้างความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจได้ หรือแม้แต่ความรู้สึกสบายใจ เป็นตัวของตนเอง การสูญเสียสำนึกของการควบคุมตัวเองและหงุดหงิดกับการบำบัดที่ล้มเหลว ทำให้บรรดาผู้ที่มีบาดแผลทางใจส่วนใหญ่มักกลัวว่าพวกเขาอาจเสียหายเกินจะเยียวยา
เว็บไซต์ของ นายแพทย์ เบสเซล แวน เดอ คอล์ก: https://www.besselvanderkolk.com/
- 5
- 4
- 3
- 2
- 1
นายพงษ์พัฒน์ ยมจินดา (ผู้ซื้อสินค้า) –