บัณฑิตกับนักบุญ (The Doctor and the Saint)
ผู้เขียน: อรุณธตี รอย (Arundhati Roy)
ผู้แปล: รวิวาร รวิวารสกุล, ชาวาร์ เกษมสุข
บรรณาธิการ: ดรุณี แซ่ลิ่ว
ISBN: 978-616-481-022-8
ราคาปก: 300 บาท
จำนวนหน้า: 248
“ไม่มีระบบสังคมใดที่จะเสื่อมทรามยิ่งไปกว่าระบบวรรณะอีกแล้ว มันคือระบบที่ทำให้ประชาชนง่อยเปลี้ย ด้านชา พิกลพิการจากกิจกรรมอันเป็นประโยชน์”
– อัมเบดการ์
“…การจะทำลายระบบวรรณะแล้วรับเอาระบบสังคมตะวันตกแบบยุโรปนั้น หมายความว่าชาวฮินดูจะต้องละทิ้งหลักการที่รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งคือจิตวิญญาณแห่งระบบวรรณะ หลักการของบรรพชนนั้นเป็นหลักการอมตะ การเปลี่ยนแปลงคือการสร้างความโกลาหลไร้ระเบียบ…”
– คานธี
การบรรจุการอภิปรายระหว่างคานธีกับอัมเบดการ์เข้าไปในในบริบทสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับประวัติศาสตร์และตัวละครเอกของเรื่อง จำเป็นเหลือเกินที่ต้องอ้อมวกเข้าสู่วิถีโคจรทางการเมืองที่แตกต่างอย่างยิ่งของคนทั้งคู่ เนื่องเพราะมิได้เป็นเพียงการอภิปรายถกเถียงระหว่างบุรุษสองนายที่มีทัศนะแตกต่างกันเท่านั้น ทว่า แต่ละคนเป็นตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์ที่แยกขาดไม่อาจสมาน
.
การปะทะของพวกเขาเริ่มก่อรูปชัดเจนขึ้น ณ ใจกลางของขบวนการกู้ชาติอินเดีย สิ่งที่บุคคลทั้งสองพูดและทำยังคงส่งอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อการเมืองร่วมสมัย ความแตกต่างของพวกเขา (และยังคงเป็นเช่นนั้น) ไม่อาจลงรอยกันได้
.
ทั้งสองต่างเป็นที่รักและบูชาประหนึ่งเทพเจ้าโดยเหล่าผู้ติดตาม ประชาชนเหล่านั้นไม่อยากฟังเรื่องราวของอีกฝ่าย แม้ว่าพวกเขาจะมีสิ่งเชื่อมโยงกัน อัมเบดการ์คือศัตรูที่น่าเกรงขามที่สุดของคานธี เขาท้าทายมหาตมาไม่ใช่แค่ในทางการเมืองหรือสติปัญญา ทว่าทางศีลธรรมด้วย ส่วนการตัดเรื่องของอัมเบดการ์ออกจากเรื่องราวของคานธีอย่างที่เราเติบโตมานั้นก็น่าหัวร่อ เช่นเดียวกัน การเขียนถึงอัมเบดการ์โดยละเลยไม่กล่าวถึงคานธีก็ถือว่าก่อความเสียหาย เพราะคานธีครอบงำโลกของอัมเบดการ์ไว้อย่างมหาศาลและในวิถีที่ไม่น่าชื่นชม
* * * * *