อุทยานแห่งผืนดิน: จากการล่าสัตว์และเก็บของป่า สู่ทุนนิยมโลกาภิวัตน์และโลกหลังจากนี้
(Garden Earth – From Hunter and Gatherers to Global Capitalism and Thereafter)
เขียน : กุนนาร์ รุนด์เกรน Gunnar Rundgren
แปล: เขมลักษณ์ ดีประวัติ, ชมพูนุช ดีประวัติ, วิภาพร ภูริธนสาร, กนกพร นัชนานนท์เทพ
ISBN: 978-616-7368-51-1
พิมพ์ครั้งที่ 1 / 2557
จำนวน 600 หน้า
ราคาปก 500 บาท
ทุนนิยมนั้นอยู่รอดได้ด้วยการพึ่งพาการเติบโตของสังคมและการหาประโยชน์จากธรรมชาติ แต่ขณะเดียวกันทุนนิยมก็บั่นทอนสิ่งเหล่านี้ และนี่คือวิกฤตที่แท้จริงของระบบทุนนิยม
ทางออกจากปัญหานี้คือเราจะต้องเปลี่ยนจากกลไก และการใช้เหตุผลแบบเดิมๆ ที่ผลักดันเรามาสู่จุดนี้ ไปเป็นหนทางการคิดแบบใหม่ที่เหมาะสมกับสิ่งที่เรากำลังเป็นอยู่มากกว่า
ให้ลองมองว่าโลกก็คืออุทยานที่เราต้องคอยดูแลเอาใจใส่ ต้องปฏิบัติต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อย่างให้เกียรติ ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม
อนาคตของโลกหรือชะตากรรมของอุทยานแห่งนี้ขึ้นอยู่กับพวกเราทั้งหมด
กุนนาร์ รุนด์เกรน เป็นนักธรรมชาติวิทยาผู้บุกเบิกแวดวงเกษตรอินทรีย์ในระดับสากล อดีตประธานสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ หรือ International Federation of Organic Agriculture Movement (IFOAM) หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นจากประสบการณ์อันยาวนานในตลอดช่วงกว่าสามทศวรรษของเขา ทั้งในฐานะเกษตรกรที่ลงมือทำการเกษตรแบบอินทรีย์ด้วยตนเอง และในบทบาทของนักคิดเชิงวิพากษ์ที่คงเส้นคงวากับประเด็นเรื่องเกษตรกรรม พาให้เขาเดินทางไปเห็นสภาพการณ์ด้านการเกษตรและการผลิตอาหารในที่ต่างๆ กว่าหนึ่งร้อยประเทศ ได้พบปะผู้คนในระดับต่างๆ ตั้งแต่ชาวนาเกษตรกร ผู้ประกอบการจนถึงผู้นำประเทศ แต่ไม่ว่าจะไปในที่แห่งใด สองเท้าของเขาก็ยังย่ำไปบนผืนดินและสองมือสัมผัสกับการทำสวนเสมอ เขายังคงใช้ชีวิตใคร่ครวญถึงคำถามอันเป็นสาระเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น และการตอบสนองความท้าทายแห่งยุคสมัยของเราเพื่อทำความเข้าใจต่อสถานะปัจจุบัน