หิ้วตะกร้าตามหาผักบ้านบ้าน : คู่มือกินเพื่อวิถีสีเขียว เล่มที่ 1
ผู้เขียน: อัญญรัตน์ อ่อนวิสุทธิ, ธนพร ศรีสุขใส, อรุณวนา สนิกะวาที
ภาพถ่าย: จามร ศรเพชรนรินทร์
ภาพวาด: อรทัย กุศลรุ่งรัตน์
ISBN 978-616-7368-35-1
ราคาปก 290 บาท
แผงผักพื้นบ้านที่ซุกตัวอยู่ตามมุมเล็กมุมน้อยของตลาดสดในเมืองใหญ่ ใช่จะสะท้อนถึงเรื่องอยู่เรื่องกินเท่านั้น หกยังสื่อถึงวิถีการพึ่งพาตัวเอง การเคารพวงจรแห่งธรรมชาติ การคงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนผ่านการพูดคุย ต่อรอง (ราคา) ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้มีเพียงคำพูดซ้ำซากไม่กี่ประโยค “สวัสดีค่ะ/ครับ” “ขอบคุณค่ะ/ครับ” “มีบัตรสมาชิกไหม” “รับซาลาเปากับชาเขียวเพิ่มไหม”…
เย็นนี้คุณจะกินอะไรดี ลองแวะไปหาเมนูจากตลาดเล็กๆ ใกล้บ้านดูสิ หากยังคิดไม่ออก ก็ลองถามป้าคนขาย ว่าผักกำนี้ทำอะไรกินได้บ้าง อย่าปล่อยให้ “ผักพื้นบ้าน” และ “ตลาดสด” กลายเป็นเรื่อง “กาลครั้งหนึ่ง” ที่อยู่ในความทรงจำของ “คนรุ่นหนึ่ง” เท่านั้น
‘ร้านผักป้าวิภาแม้จะมีผักให้เลือกไม่มากชนิด แต่ในกระจาดที่มีทั้งโสน ผักแพว ขนุน ดอกขจร ดอกแค ทูน หยวกกล้วย ก็ถูกจัดวางอย่างประณีต หยดน้ำเกาะพราว บอกถึงความสดใหม่ของผัก และความใส่ใจของผู้ขายได้เป็นอย่างดี’
– ตลาดอมรพันธ์
‘ผักร้านป้าเป้าเด็ดเอามาจากสวนป้าเอง มีทั้งผักพื้นบ้าน ผักจีน ป้าใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ บางชนิดมีแค่อย่างละนิดละหน่อย และไม่ได้มีทุกวัน ขึ้นอยู่กับปริมาณและฤดูกาลของมัน’
– ตลาดสวนผัก ๓๒
‘ผักพื้นบ้านในตลาดนี้มีให้เห็นหนาตา ราคาไม่แพง หยิบง่าย ขายคล่อง อย่างแผงผักของพี่ขวัญฤทัย ที่ตั้งอยู่กลางตลาด มีผักไทยแบบเน้นๆ ที่รับมาจากชาวสวนฉะเชิงเทรา’
– ตลาดเกรียงไกร
‘ลูกค้ามาหยิบจับเท่าไหร่ว่า ก็ไม่ช้ำง่ายเหมือนผักจีน ที่ทั้งบอบบาง ต้องประคบประหงม พรมน้ำกันทุกชั่วโมง ตั้งไว้นานหน่อยก็เฉา ช้ำ คอพับ รับแขกไม่ค่อยไหว” พี่มุทิตา เจ้าของแผงผักบอกมายังงี้’
– ตลาดรุ่งอรุณและตลาดพระโขนง
‘ตลาดขนาดกะทัดรัด ใจกลางย่านธุรกิจ ที่ยังมีภาพสาวน้อยปั่นจักรยาน นำผักสวนครัวจากรั้วบ้านตัวเองมาวางขาย และยังมีแผงผักใหญ่ในตลาดอีกหลายเจ้า อยากได้ผักสดๆ มีให้เลือกเยอะๆ ต้องมากันก่อน ๑๐ โมงเช้า’
– ตลาดซอยประชุม(วัดแขก)
หนังสือสภาพภายนอกเก่าเล็กน้อย แต่เนื้อในอ่านได้ปกติ ทักแชทสอบถาม/ขอดูรูปก่อนได้นะคะ