ยาพิษคือโอสถ: ไขข้อกังขาเกี่ยวกับวัชรยาน (Poison is Medicine: Clarifying in Vajrayana)

Original price was: 380 ฿.Current price is: 342 ฿.

ยาพิษคือโอสถ: ไขข้อกังขาเกี่ยวกับวัชรยาน (Poison is Medicine: Clarifying in Vajrayana)

เขียน:  ซองซาร์ จัมยัง เคียนเซ
แปล: นัยนา นาควัชระ
ปีที่พิมพ์: 1/2565
จำนวนหน้า: 336
ISBN: 978-616-481-032-7
ราคาปก: 380 บาท

 

  • – ทำไมบางครั้งคุรุวัชรยานจึงดูเหมือนเป็นคนเอาแต่ใจตัว หรือทำตัวเหมือนดาราเพลงร็อก?
  • – การปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงการรับรู้ที่บริสุทธิ์ กับการให้สัจจะว่าจะรักษาศีล (สมยะ) เป็นเพียงข้ออ้างที่ลามะจะได้ควบคุมศิษย์และบังคับให้ศิษย์เชื่อฟังในทุกกรณี อย่างนั้นใช่หรือไม่?”
  • – ในแง่ใหนบ้างที่พุทธศาสนาสายทิเบตมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมและความชอบของคนทิเบตเอง?

 

“ข้าพเจ้าเขียน หนังสือ “ยาพิษคือโอสถ” เพื่อตอบข้อช้องใจ และเพื่อขจัดความเข้าใจผิด หรือความกังขาที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับวัชรยาน อันเนื่องมาจากช่าวอื้อฉาวเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคุรุสายวัชรยานกับศิษย์ที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 2010  หนังสือเล่มนี้มิได้เป็นหนังสือแนะนำวิถีวัชรยาน หากคุณไม่มีความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาเลย และที่หนักกว่านั้นหากคุณไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับวัชรยาน หนังสือเล่มนี้ก็ไม่เหมาะสำหรับคุณ ใครที่พอจะมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับจารีตตันตระอัน ประณีตลึกซึ้งและกว้างขวาง ก็อาจจะมีหวังมากกว่าคนที่ไม่มีความรู้เลย แต่เป็นไปได้ว่าเมื่ออ่านแล้วคุณเองก็อาจสับสนไม่แพ้กัน ขอเตือนเอาไว้ก่อนเพื่อที่คุณจะได้ตั้งตัวทัน

เหตุผลข้อหนึ่งที่ข้าพเจ้าเขียนหนังสือเล่มนี้ ก็เพราะอยากจะให้เราทุกคนใคร่ครวญพิจารณาประเด็นต่างๆ ซึ่งเป็นที่สนใจของสังคมหลังจากที่มีข่าวอื้อฉาวเมื่อไม่นานมานี้เกี่ยวกับคุรุวัชรยาน ข้าพเจ้าอยากให้เรามองจากหลายๆ แง่มุมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จริงๆ แล้ว ลามะทิเบตรู้อะไรมากน้อยแค่ไหนเกี่ยวกับลูกศิษย์ที่เป็นชาวต่างชาติ? ในแง่ไหนบ้างที่พุทธศาสนาสายทิเบตมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมและความชอบของคนทิเบตเอง? ทำไมบางครั้งคุรุวัชรยานจึงดูเหมือนเป็นคนเอาแต่ใจตัว หรือทำตัวเหมือนดาราเพลงร็อก? การปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงการรับรู้ที่บริสุทธิ์ กับการให้สัจจะว่าจะรักษาศีล (สมยะ) เป็นเพียงข้ออ้างที่ลามะจะได้ควบคุมศิษย์และบังคับให้ศิษย์เชื่อฟังในทุกกรณี อย่างนั้นใช่หรือไม่?” เราสามารถปฏิเสธคุรุวัชรยานของเราได้หรือเปล่า? วัชรยานควรปรับปรุงตัวเองเพื่อให้กับโลกสมัยใหม่หรือไม่?

ข้าพเจ้าขอพูดซ้ำและย้ำอีกครั้งว่า หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือปูพื้นฐานความรู้ต้านพุทธศาสนา และไม่ได้เขียนสำหรับคนที่ไม่รู้อะไรเลย เกี่ยวกับพุทธธรรม และที่แน่ ๆ ไม่ได้เขียนให้ผู้อ่านที่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับวัชรยาน  ไม่ว่าคุณจะอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วย เหตุผลใดก็ตาม ข้าพเจ้าหวังว่าเมื่ออ่านจบแล้ว คุณจะรู้สึกว่าคุณได้รับ ข้อมูลและเครื่องมือที่พร้อมมูลยิ่งขึ้น ในอันที่จะสานต่อความสนใจที่มีต่อวิถีวัชรยาน ซึ่งเป็นวิถืธรรมที่ไม่มีใดเทียบเทียม”

– ซองซาร์ จัมยัง เคียนเซ, บางส่วนจาก ‘เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้’

 

          หากคุณเชื่อว่าวิถีธรรมควรมีคำจำกัดความที่ชัดเจน มีการระบุและจำแนกปัญหา รวมทั้งบอกหนทางแก้ปัญหาอย่างละเอียด แล้วแบ่งโลกออกเป็นพระเอกกับผู้ร้าย—เหมือนในหนังฮอลลีวูดที่แบ่งแยกคนเลวกับคนดี  ถ้าคุณเชื่อเช่นนั้น วัชรยานก็ไม่เหมาะสำหรับคุณ  เพราะเหตุใด? เพราะวัชรยานปฏิเสธช่องว่างระหว่างปัญหากับวิธีแก้ปัญหา  แพทย์ทางเลือกแบบโฮเมโอพาธี (homeopathy) ภูมิใจกับการใช้ยาพิษที่เป็นต้นเหตุของโรคมาเป็นโอสถรักษาโรคฉันใด วัชรยานเองก็ภูมิใจกับการใช้ปัญหามาเป็นหนทางแก้ปัญหาฉันนั้น


เกี่ยวกับผู้เขียน

Dzongsar Jamyang Khyentse ผู้เขียน ยาพิษคือโอสถ
Dzongsar Jamyang Khyentse

ซองซาร์ จัมยัง เคียนเซ (Dzongsar Jamyang Khyentse)

เกิดที่ภูฐานในปี 1961 เป็นศิษย์ของ เคนโปอับเป ริมโปเช และเป็นเจ้าอาวาสวัดซองซาร์ รวมทั้งมหาวิทยาลัยซองซาร์อันมีชื่อ ท่านมีภาระหน้าที่รับผิดชอบและให้การศึกษาภิกษุสงฆ์จำนวน 1,600 รูป ซึ่งอาศัยอยู่ในอารามหกแห่งในภูฐานและทั่วเอเชีย ท่านได้ทำตามปณิธานของสิทธัตถะ โดยสร้างศูนย์พุทธธรรมและปฏิบัติภาวนาหกแห่งทั่วโลก รวมทั้งองค์กรไม่แสวงผลกำไรอีกสองแห่ง ได้แก่ มูลนิธิเคียนเซ และ Lotus Outreach นอกจาก อะไรทำให้คุณไม่ใช่พุทธ แล้ว ท่านมีผลงานเขียนที่ได้รับเสียงชื่นชมอีกมากมาย อาทิ Best Foot Forward, Poison Is Medicine, Not For Happiness เป็นต้น ท่านยังเป็นผู้เขียนบทและกำกับภาพยนตร์ The Cup และ Travellers and Magicians อีกด้วย

ผลงานเพิ่มเติมของนักเขียนท่านเดียวกัน: อะไรทำให้คุณไม่ใช่พุทธ , จาริกไปในรอยบุญ