เยียวยาอดีต: การเดินทางของข้าพเจ้าจากนักสู้กู้อิสรภาพสู่ผู้เยียวยา
Redeeming the Past: My Journey from Freedom Fighter to Healer
ผู้เขียน: ไมเคิล แลปสลีย์ , สตีเฟน คาราคาเชียน (Michael Lapsley & Stephen Karakashian)
ผู้แปล: ดรุณ แซ่ลิ่ว
บรรณาธิการ: สดใส ขันติวรพงศ์
ISBN: 978-616-7368-98-6
ปีพิมพ์: 1/2561
จำนวนหน้า: 448
ราคาปก: 440 บาท
“แม้ข้าพเจ้าต้องเสียมือทั้งสองข้าง
ดวงตาอีกข้างหนึ่ง และกะโหลกศีรษะแตกละเอียด
แต่ปากข้าพเจ้ายังสมบูรณ์ไม่ได้รับบาดเจ็บ
และนั่นคืออาวุธอย่างเดียวของข้าพเจ้า”
หนังสือเล่มนี้จะเป็นแรงกระตุ้นให้ใครก็ตามผู้ต้องเผชิญกับความยากลำบาก ความแตกสลาย และความเป็นปฏิปักษ์ เป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะแห่งจิตวิญญาณมนุษย์ และจะเป็นกำลังใจให้ผู้อ่านเผชิญหน้ากับอุปสรรคใดๆ ก็ตาม ด้วยหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความกล้าหาญและการให้อภัย
ไมเคิล แลปสลีย์และหนังสือเยียวยาอดีตได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากทั่วโลก พร้อมคำนิยมจากอัครมุขนายกกิตติคุณ เดสมอนด์ ตูตู และการรับรองจากบุคคลสำคัญผู้มีชื่อเสียงมากมาย
“แม้จะทุพพลภาพทางร่างกาย แต่เขาได้กลายเป็น “คนเต็มคน” มากที่สุดเท่าที่ข้าพเจ้าได้รู้จัก เป็นผู้เยียวยาบาดแผลอย่างแท้จริง บันทึกของเขาจะนำสาส์นของเขาไปถึงผู้คนในทั่วโลกได้มากขึ้น และจะช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ สำหรับงานของสถาบันฯ ซึ่งจะเป็นการอำนวยพรที่ยิ่งใหญ่”
– อัครมุขนายกกิตติคุณ เดสมอนด์ ตูตู
เกี่ยวกับผู้เขียน
คุณพ่อไมเคิล ลาปส์ลีย์ (Michael Lapsley)
อายุ 68 ปี เป็นนักบวชนิกายแองกลิคันจากประเทศแอฟริกาใต้ และเป็นนักกิจกรรมเพื่อความยุติธรรมทางสังคม ปี 1973 ช่วงที่การแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้กำลังร้อนระอุ คุณพ่อไมเคิลเป็นปากเสียงให้เด็กนักเรียนที่ถูกยิง ถูกกักขังและทรมาน และลุกขึ้นต่อสู้ในฐานะที่เป็นอนุศาสนาจารย์ของเด็กนักเรียนเหล่านั้น ปี 1976 ท่านถูกเนรเทศจากแอฟริกาใต้ และย้ายไปยังประเทศเลโซโท ท่านออกเดินทางทั่วโลกเพื่อขับเคลื่อนชุมชนแห่งความศรัทธาที่ต่อสู้กับการแบ่งแยกสีผิว ก่อนจะย้ายไปที่ซิมบับเว ที่นี่คุณพ่อได้รับจดหมายระเบิดจากกองกำลังแบ่งแยกสีผิว เป็นเหตุให้ท่านสูญเสียแขนทั้งสองข้าง ดวงตาข้างหนึ่ง และร่างกายถูกไฟไหม้อย่างรุนแรง 10 ปีหลังจากนั้น คุณพ่อไมเคิลกลับมายังแอฟริกาใต้และช่วยก่อตั้งสมาคมเพื่อนคิวบา เป็นอนุศาสนาจารย์ Trauma Centre for Victims of Violence and Torture และก่อตั้งสถาบันเพื่อการเยียวยาความทรงจำ ซึ่งช่วยเยียวยาผู้ได้รับความบอบช้ำทางร่างกายและจิตใจ และขยายงานสู่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ผู้ลี้ภัย นักโทษ และทหารผ่านศึกด้วย