หัวใจอุดมศึกษา: เสียงเรียกร้องเพื่อปรับเปลี่ยนสถานศึกษาโดยการสนทนาในสถาบัน
(The Heart of Higher Education: A Call to Renewal. Transforming the Academy through Collegial Conversations)
เขียน: ปาร์กเกอร์ เจ. ปาล์มเมอร์, อาเธอร์ ซายองค์, เมแกน สคริปเนอร์
แปล: กรรณิการ์ พรมเสาร์
ปีพิมพ์ 2557
จำนวนหน้า 312 หน้า
ISBN 978-616-7368-55-9
ราคาปก 340 บาท
หัวใจของหนังสือเล่มนี้ก็เพื่อเชิญชวนให้เราทุกคนมาร่วมกันหาคำตอบว่า การอุดมศึกษาจะเป็นภารกิจที่มีหลายมิติกว่านี้ได้อย่างไร? ภารกิจที่ดึงศักยภาพของมนุษย์ในการแสวงหาความรู้ การสอน และการเรียน ออกมาอย่างเต็มที่ เพื่อเชื่อมช่องว่างระหว่างสาขาวิชาเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างข้อต่อที่แข็งแกร่งระหว่างการรู้จักโลกกับการดำรงชีวิตอยู่ในโลกอย่างสร้างสรรค์ ทั้งอยู่อย่างสันโดษและอยู่เป็นชุมชน
เราต้องการการศึกษาที่น้อมรับทุกมิติของความเป็นมนุษย์ ที่ให้เกียรติความหลากหลายของประสบการณ์มนุษย์ มองดูตัวเราและโลกผ่านเลนส์ทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย และให้การศึกษาผู้เยาว์ของเราในแบบที่จะช่วยให้พวกเขาเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายทั้งหลายในยุคสมัยของเราได้
ในชีวิตการเป็นครู เราได้เรียนรู้ว่า เมื่อเราพูดและฟังอย่างแท้จริงและด้วยดีกับเพื่อนร่วมงาน เราสามารถเริ่มถักทอจินตนาการใหม่ให้การอุดมศึกษาได้จากประสบการณ์ที่เราแบ่งปันกันนั้น และจินตนาการร่วมของเราสามารถวิวัฒน์ไปเป็นการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ได้
พวกเราโดยรวมทั้งนักศึกษา ครู และผู้บริหาร ล้วนต่างมีสติปัญญาและประสบการณ์ที่จำเป็นในการรับมือกับปัญหาอุปสรรคในศตวรรษหน้า ขอเพียงแต่ให้เรากล้าหาญพอที่จะระบุว่าเราสนใจสิ่งใดบ้าง แลกเปลี่ยนสิ่งที่เรารู้ และยอมรับความเสี่ยงที่ต้องมีอยู่เสมอเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
อุดมศึกษาจะมีวิวัฒนาการต่อไปจนเต็มศักยภาพของตัวเองได้นั้น ต้องมีคนที่อุทิศตนให้กับงานการศึกษาอย่างยิ่ง ถึงขนาดทะเลาะกับสถาบันได้ด้วยความรัก เมื่อเห็นว่าศักยภาพของสถาบันไม่เป็นไปตามที่คิด แล้วตั้งใจแปลการทะเลาะนั้นไปเป็นการปฏิบัติเชิงบวก เราต้องเผยและทำให้หัวใจของอุดมศึกษาเข้มแข็งในตัวคณาจารย์ ผู้บริหาร นักศึกษา ศิษย์เก่า รวมทั้งคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยผู้มีวิสัยทัศน์ ในการฟื้นฟูศักยภาพที่ยังไม่ถูกใช้งานในตัวมนุษย์และดีเอ็นเอของประวัติศาสตร์ที่ก่อให้เกิดชีวิตเชิงวิชาการ
การฟื้นฟูหัวใจของอุดมศึกษาจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบัน ที่อาจออกมาในรูปที่นักวิชาการสนับสนุนและปฏิบัติหน้าที่ทางสังคม ความเปลี่ยนแปลงที่เราแสวงหาในสถานศึกษาไม่ใช่แบบที่ออกมาจากคำสั่งของผู้บริหาร แต่เป็นแบบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีพลังงานระหว่างมนุษย์ที่เอื้ออาทรและช่างคิด เมื่อวาระส่วนตัวลดลงไป และความสนใจผู้อื่นอย่างแท้จริงถูกสร้างขึ้นมา จากนั้น คุณลักษณะของความใส่ใจซึ่งกันและกันก็จะปรากฏขึ้น ซึ่งสามารถกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับสิ่งใหม่ และสิ่งที่ไม่คาดหมายที่อาจจะกลายเป็นจุดกำเนิดของการฟื้นฟูการศึกษา
ราคาปก 340 บาท
There are no reviews yet.